วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ความปลอดภัยในห้องน้ำ

นตอนที่ 1ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างให้สว่างเพียงพอโดยเฉพาะใน กรณีที่ภายในบ้านมีเด็กเล็ก ๆ คนชรา และคนพิการ หากแสงไม่เพียงพออาจจะใช้แสงธรรมชาติโดยใช้กระ จกพลาสติก ควรเลือกใช้กระจกนิรภัย พลาสติก หรือ วัสดุที่ไม่แตกกระจายเป็นโครงสร้าง หรืออุปกรณ์ ประกอบต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อป้องกันอันตรายในกรณี ที่มีการแตกเสียหาย วัสดุเหล่านี้จะได้ไม่แตกกร ะจาย ทำให้การจัดเก็บทำความสะอาดกระทำได้ไม่ยาก รวมทั้งไม่ควรติดตั้งกระจกข้างอ่างอาบน้ำ เพรา ะถ้าหากเกิดการลื่นอาจมีการเท้ากระจกแตก เป็นอั นตรายได้
ขั้นตอนที่ 2ในการติดตั้งลูกบิดประตู ให้เลือกใช้ชนิดที่สาม ารถเปิดล็อกได้จากภายนอก เผื่อว่ามีการล้มหมดสติ หรือกรณีที่เกิดอุบัติเหตุอื่น ๆ คนที่อยู่ภายน อกจะได้เปิดเข้าไปช่วยเหลือได้
ขั้นตอนที่ 3ในกรณีที่ติดตั้งขอเกี่ยวสำหรับแขวนผ้า ควรติดตั ้งให้อยู่เหนือระดับสายตา เพราะขอเกี่ยวมักมีส่ วนที่แหลมยื่นออกมาอาจเป็นอันตรายได้ ติดตั้งรา วจับรูปตัวแอลหรือราวแนวนอน ซึ่งสามารถรับน้ำหนั กตัวของคนได้ประมาณ 100 กิโลกรัมในบริเวณอ่างอา บน้ำหรือห้องอาบน้ำ นอกจากจะช่วยป้องกันลื่นแล้ ว ยังช่วยในเรื่องการทำความสะอาดอีกด้วย
ขั้นตอนที่ 4เลือกอ่างอาบน้ำหรือถาดรองอาบน้ำชนิดที่มีพื้นผิ วไม่ลื่น หรือใช้แผ่นยางกันลื่นปูที่อ่างอาบน้ำ หรือถาดรองอาบน้ำ นอกจากจะช่วยป้องกันลื่นแล้ว ยังช่วยในเรื่องการทำความสะอาดอีกด้วย ถ้าต้องก ารใช้พรมในห้องน้ำควรเลือกใช้พรมชิ้น ควรเป็นผ้ าทอเพื่อดูดซับน้ำได้ดีกว่า และทำความสะอาดง่าย ใต้พรมควรติดยางเพื่อกันการลื่นไถล
ขั้นตอนที่ 5การติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่นควรเลือกชนิดที่สามา รถตั้งอุณหภูมิคงที่ได้ และเมื่ออุณหภูมิของน้ำ สูงเกินไปก็สามารถตัดทันที ในการตั้งอุณหภูมิคว รตั้งให้พอเหมาะ ไม่ให้ร้อนหรือเย็นเกินไป ซึ่ง ก็ประมาณ 36 องศาเซลเซียส ทั้งนี้เพื่อป้องกันอั นตรายให้กับเด็กหรือคนชราที่ใช้งานด้วย ในกรณีข องการใช้เครื่องทำน้ำอุ่น ซึ่งต้องใช้ในบริเวณเ ปียก ให้เลือกชนิดที่มีคุณภาพมาตรฐานที่ดี รวมทั ้งติดตั้งสวิตช์ตัดไฟไว้ให้พร้อม
ขั้นตอนที่ 6อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า อาทิ ปลั๊กไฟ สวิ ตช์ไฟ ควรติดตั้งสายดินและเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ สามารถตัดไฟได้ทันทีในกรณีที่เกิดไฟฟ้ารั่ว ทั้ งควรติดตั้งในส่วนแห้งสูงจากก๊อกน้ำอ่างล้างหน้ าเพื่อป้องกันน้ำกระเซ็น ตัวปลั๊กไฟและสวิตช์ไฟ ต้องสามารถป้องกันความชื้นได้ด้วย ซึ่งความชื้น อาจเป็นตัวการทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ไม่ควรใช้อ ุปกรณ์ไฟฟ้าใด ๆ ในขณะที่ร่างกายเปียกชื้น โดยเ ฉพาะเครื่องเป่าผมในขณะอยู่ในอ่างอาบน้ำเพราะอา จเกิดการพลาดหลุดมือ ทำให้เป็นอันตรายได้
ขั้นตอนที่ 7พื้นห้องน้ำเมื่อเปียกน้ำมักลื่น โดยเฉพาะพื้นหิ นธรรมชาติ ดังนั้นการนำมาใช้งานควรเซาะพื้นเป็น ร่องกันลื่น หรือติดยางเป็นเส้น ๆ ที่พื้น หรือใ ช้น้ำยากันลื่น ซึ่งปัจจุบันมีจำหน่ายในท้องตลา ด

วิธีการดูแลรักษาสุขภัณฑ์

ขั้นตอนที่ 1ส่วนที่เป็นเซรามิค ได้แก่ กระเบื้องปูพื้น ผ นัง อ่างต่าง ๆ และโถสุขภัณฑ์ -ใช้น้ำยาล้างสุข ภัณฑ์หรือผงขัด โดยใช้แผ่นวัสดุที่ไม่มีคมขัดถู ถ้ามีรอยเปื้อนที่เป็นคราบประเภทต่าง ๆ ให้ทำค วามสะอาดด้วยวิธีเหล่านี้ คราบน้ำกระด้าง หรือค ราบสบู่ ให้ใช้แอมโมเนียหรือน้ำส้มผสมในอัตราส่ วน1:1เช็ดให้ทั่วหรือใช้น้ำยาล้างสุขภัณฑ์อย่าง อ่อนๆแล้วทำให้แห้ง คราบสีให้ใช้ทินเนอร์ราดทิ้ งไว้ขูดออกด้วยเหล็กขูดสี แล้วเช็ดให้สะอาดคราบ ปูนกาว
ขั้นตอนที่ 2ส่วนที่เป็นพลาสติก เช่น ฝารองนั่งใช้ผ้าชนิดอ่ อนนุ่มหรือฟองน้ำ ชุบน้ำสะอาดหรือน้ำสบู่หรือน้ ำยาล้างจานเช็ดถู ห้ามใช้น้ำยาล้างสุขภัณฑ์ ผงขั ด หรือผงซักฟอก
ขั้นตอนที่ 3ส่วนที่เป็นโครเมี่ยม เช่น ก็อกน้ำ ตะขอแขวนผ้า -ใช้ผ้าแห้งขัดด้วยยาขัดโครเมี่ยมหรือโลหะ หรื อยาขัดเงารถ
ขั้นตอนที่ 4ถ้าสุขภัณฑ์เปื้อนคราบสี หรือเศษปูนใช้เหล็กขูด สีขูดออก แล้วเช็ดด้วยทินเนอร์คราบน้ำมันเครื่อ ง น้ำมันพืชใช้โซเดียมคาร์บอเนต10%ผสมน้ำหรือใช้ โซเดียมไฮดรอกไซด์ 5%เช็ดถูออกควรทำความสะอาดอย ่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

วิธีติดตั้งโถสุขภันฑ์

ขั้นตอนที่ 1ถอดโถสุขภัณฑ์เก่าออกโดยปิดวาล์วน้ำประปาในส่วน ที่จะเข้าโถสุขภัณฑ์ ชักโครกให้ในถังน้ำหมดน้ำ ปลดท่อน้ำประปาและถอดโถส้วมโดยงัดหรือขันฝาครอ บเกลียวออกถอดน๊อตและแหวนยางโยกโถส้วมให้ปูนยาแ นวที่พื้นแตก ยกโถส้วมขึ้นตรงๆตักน้ำที่หลงเหลื ออยู่ใส่ถังอุดข้องอด้วยเศษผ้าเพื่อกันเศษผงและ ปิดทางแก๊สเสียจากท่อโสโครก
ขั้นตอนที่ 2ขูดปะเก็นและวัสดุอุดของเก่าออกจากหน้าแปลนพื้น ทดลองวางโถดูรูยึดสลักที่ฐานถ้าไม่ตรงให้ทำการ เจาะรูใหม่ โดยยึดให้โถอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางขอ งหน้าแปลนและขนานกับกำแพง
ขั้นตอนที่ 3พลิกด้านฐานของโถส้วมขึ้น วางโถส้วมบนกล่องหรือ ลังที่ปูด้วยผ้าเช็ดตัวเก่า (ควรมีผู้ช่วย)ใส่ป ระเกนที่ฐานโถและใส่วัสดุกันรั่วซึมที่พื้นหน้า แปลน ค่อย ๆ กดปะเก็นลงที่ปลายท่อน้ำออกของโถส้ วม ปะเก็นจะทำหน้าที่กันน้ำรั่วซึม นำเศษผ้าออก จากท่องอโถส้วม
ขั้นตอนที่ 4กลับโถส้วมตั้งขึ้นวางลงบนสลักเกลียวแล้วกดลงขยั บโถเล็กน้อยจนโถส้วมไม่โยก ใช้ระดับน้ำวางพาดโถ ส้วมเพื่อวัดระดับ หนุนด้วยลิ่มโลหะบางๆ ถ้าจำเ ป็น แล้วตั้งถังน้ำสำหรับโถส้วม ขยับโถส้วมให้ถึ งน้ำได้แนวกับผนังใส่แหวนยางและขันน๊อตลงบนสลัก เกลียวขันน๊อตสลับกันทั้ง 2 ข้าง เพื่อกันโถส้ว มร้าว
ขั้นตอนที่ 5เทน้ำลงในโถเพื่อตรวจดูรอยรั่ว และดูฝาปิดกับสลั กเกลียว ถ้าสลักเกลียวยาวเกินไปให้ตัดด้วยเลื่อ ยตัดเหล็กใส่วัสดุอุดท่อลงในฝาและปิดลงบนสลักเก ลียวใช้นิ้วยาแนวฐานโถส้วมด้วยปูนยาแนว ปูนยาแน วจะแห้งเร็วมาก ต้องทำอย่างเร็ว เช็ดส่วนเกินด้ วยผ้าเปียก
ขั้นตอนที่ 6ต่อท่อน้ำประปากลับเข้าโถ ควรเปลี่ยนเป็นสายโลห ะถักอ่อน ใช้แถบกาวพันท่อ หรือกาวซีเมนต์ทาบนเก ลียวแล้วขันน๊อตให้แน่น เปิดน้ำแล้วตรวจดูรอยรั ่วรอบรอยต่อ ติดตั้งฝารอบนั่งตามขั้นตอนของผู้ผ ลิต ปิดฝาบนถังเก็บน้ำ

วิธีแก้ปัญหาส้วมตัน

ปัญหาส้วมตันที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่คนเราชอบโยนกระดาษทิชชู่บ้าง ผ้าอนามัยบ้าง ลงไปในส้วม และเมื่อมันไม่สามารถที่จะไหลลงไปในท่อได้ ก็เกิดการอุดตันขึ้น ส้วมตันก็ต้องมานั่งทะลวงกันอีก ดีไม่ดีกดน้ำไม่ลงตอนที่ทำธุระเสร็จใหม่ๆก็ไม่อยากจะคิดถึงภาพนั้นเลย หากส้วมในบ้านเกิดอาการอุดตันขึ้นให้ทำวิธีการต่อไปนี้เพื่อเแก้ไข

ลูกยางปั๊ม ส้วมตัน



ใช้ลูกยางปั๊มดันสิ่งอุดตัน

ลักษณะก็จะเป็นหัวยางกลมๆบานๆ มีด้ามต่อขึ้นมา วิธีการก็ใช้ลูกยางปั๊มปั๊มลงไปที่ส้วม โดยกดลงไปให้เป็นจังหวะขึ้นลง ขึ้นลงไปเรื่อยๆ จนกว่าน้ำในชักโครกจะค่อยไหลลงท่อไป เป็นวิธีที่ช่วยทะลวงส้วมที่ไม่อุดตันมาก ใช้แรงดันจากหัวปั๊มดันสิ่งอุดตันออกไป แต่หากใช้วิธีนี้ไม่ได้ผลก็ลองวิธีต่อไป


โซดาไฟ ส้วมตัน


ละลายสิ่งอุดตันชักโครกด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์(โซดาไฟ)

วิธีการนี้ง่ายๆแค่ไปหาซื้อโซเดียมไฮดรอกไซด์หรือโซดาไฟ ตามร้านวัสดุก่อสร้างทั่วไปก็มีขาย โดยหน้าตามันจะเป็นเกร็ดๆ เป็นผลึกสีขาวๆเป็นเม็ดๆ เมื่อได้มาก็จัดการเทลงไปที่ส้วมได้เลย ทิ้งไว้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง โซดาไฟจะไปช่วยกัดกร่อนสิ่งอุดตันให้แตกตัวออกจากกัน แล้วจะทำให้สิ่งอุดตันถูกทะลวงได้ในที่สุด แต่อย่าเทลงไปมากเกินไปเพราะจะทำให้มันจับกันเป็นก้อนแข็งแล้วทีนี้ส้วมจะตันหนักมากขึ้นไปอีก ต้องระวังในจุดนี้ด้วย

งูเหล็ก ส้วมตัน

งูเหล็กทะลวงส้วม

หากใช้วิธีข้างบนแล้วไม่ดีขึ้นลองหาซื้องูเหล็กอุปกรณ์ทะลวงท่อมาช่วยทะลวงส้วมได้ มันจะเป็นเหล็กเส้นยาวๆมีหัวหมุนหาซื้อได้ตามโฮมโปร วิธีการก็แหย่งูเหล็กไปที่ส้วมเอาให้ลึกที่สุด จากนั้นก็จัดการหมุนที่ด้ามจับ เพื่อทะลวงสิ่งอุดตันให้หลุดออกไปแค่นี้ก็จบ ง่ายมากๆเลย

    นี่ก็เป็นวิธีแก้ปัญหาส้วมตันอย่างง่ายๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วแค่ 3 วิธีนี้ก็สามารถแก้ปัญหาส้วมตันได้แล้ว แต่หากลองทั้ง 3 วิธีแล้วก็ยังไม่หายก็อาจจะลองเรียกรถดูดส้วมมาดูดเผื่อส้วมเต็ม หรือไม่ถ้าแก้หมดทุกวิธีแล้วก็ยังไม่หาย ก็อาจต้องเปลี่ยนชักโครกใหม่ไปเลยปัญหาจะได้จบ

ประเภทของส้วม


ส้วมหลุม[แก้]

ส้วมหลุม ถือเป็นส้วมแบบแรกที่คนไทยใช้ เป็นหลุมดินมีทั้งที่ใช้เป็นแบบหลุมแห้งหรือหลุมเปียกที่ขุดเป็นหลุมกลมหรือหลุมสี่เหลี่ยม แล้วปลูกตัวเรือนครอบหลุมไว้ อาจมีไม้กระดาน 2 แผ่นพาดปากหลุมสำหรับนั่งเหยียบและเว้นช่องตรงกลางไว้สำหรับถ่ายทุกข์หรือทำฐานโดยใช้แผ่นไม้กระดานมาปิดปากหลุมแล้วเจาะช่องสำหรับถ่าย ตำแหน่งของส้วมหลุมมักจะสร้างไว้ไกลจากบ้านพอสมควรเพื่อแก้ปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็น เมื่อหลุมเต็มก็กลบหลุม ย้ายไปขุดที่ใหม่ ส้วมหลุมที่มีลักษณะถูกต้องตามแบบของกรมสุขาภิบาลต้องมีฝาปิดและมีท่อระบายอากาศ อาจทำจากไม้ไผ่ทะลุปล้องให้เป็นท่อกลวง เจาะทะลุพื้นส้วมเป็นการลดกลิ่นเหม็นจากภายในหลุมส้วม
คนไทยสร้างส้วมหลุมลักษณะดังกล่าวใช้กันมาแต่โบราณ ส้วมหลุมมีปรากฏชัดเจนในสมัยรัชกาลที่ 6 ในยุคที่รัฐเข้ามาจัดการเรื่องส้วมของประชาชนนับตั้งแต่ทศวรรษ 2440 ส้วมที่กรมสุขาภิบาลแนะนำในสมัยนั้นคือส้วมหลุมและส้วมถังเท[17]

ส้วมถังเท[แก้]

ส้วมถังเทมีลักษณะคล้ายส้วมหลุมแต่ใช้ถังวางไว้ในหลุมใต้ฐานไม้สำหรับรองรับอุจจาระของผู้ขับถ่าย เป็นการกำจัดอุจจาระที่ยึดหลักการถ่ายอุจจาระลงถังที่เตรียมไว้แล้วจึงนำไปทิ้ง การเก็บและบรรทุกถังไปชำระตามปกติ[17] โดยมากจะทำการเก็บและบรรทุกถังอุจจาระไปเททิ้งทำกันวันละครั้ง
"บริษัทสอาด" ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2440 ถือเป็นบริษัทแห่งแรกในจังหวัดพระนครที่ดำเนินการรับจ้างขนเทอุจจาระ ในช่วงแรกของการดำเนินกิจการตั้งอยู่ที่บางขุนพรหม กิจการของบริษัทสอาดดำเนินการมาประมาณ 20 ปี ก็ได้ขายกิจการต่อให้กับบริษัทออนเหวง ถือเป็นบริษัทรับขนเทอุจจาระรายใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ รับเหมาสัมปทานเวจสาธารณะของกรมสุขาภิบาลและของประชาชนทั่วไปในกรุงเทพ
อัตราค่าถังเท ถังละประมาณหนึ่งบาทหรือหกสลึงต่อเดือน ไม่บังคับใช้หากใครไม่อยากจะใช้ระบบถังเทก็ไปใช้บริการสาธารณะได้เช่นกัน เมื่อซื้อถังไปแล้ว ลูกค้าก็จะนำไปใช้แล้ว ทุกคืนราวเที่ยงคืน บริษัทก็จะออกเก็บโดยใช้วัวสองตัวลากรถบรรทุกที่ปิดกั้นด้วยแผ่นสังกะสีทั้งสี่ด้าน แต่ด้านหลังเป็นบานประตูเปิดปิดได้ คันหนึ่งก็รับถังได้ประมาณ 30-40 ถัง จะมีพนักงานเอาถังใหม่มาเปลี่ยนกับถังเก่า[18] แต่เนื่องจากส้วมถังเทเป็นส้วมที่ยากต่อการดูแลรักษา และการควบคุมให้ปลอดภัยต่อการแพร่ของเชื้อโรค ทางการจึงไม่ส่งเสริมให้ประชาชนใช้[17]

ส้วมบุญสะอาด[แก้]

ส้วมบุญสะอาดประดิษฐ์โดยนายอินทร์ บุญสะอาด ผู้ตรวจการสุขาภิบาลประจำอำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2474 คือส้วมหลุมที่มีลักษณะพิเศษ กล่าวคือฝาปิดหลุมส้วมมีลักษณะเป็นลิ้นและลิ้นนี้จะเข้าไปขัดกับประตูส้วม คนที่เข้าส้วมต้องใช้เท้าถีบให้ลิ้นที่เป็นฝาปิดนี้ไปขัดกับประตูและจะมีส่วนยื่นออกมานอกประตู จะทำให้คนข้างนอกรู้ว่ามีคนใช้งานอยู่ เมื่อถ่ายเสร็จแล้วผู้ใช้จะต้องปิดฝาส้วมไว้ตามเดิม มิฉะนั้นจะไม่สามารถเปิดประตูส้วมออกมาข้างนอกได้ เป็นกลไกเพื่อป้องกันการลืมปิดฝาหลุม[19]

ส้วมคอห่าน[แก้]

ผู้ประดิษฐ์ "ส้วมคอห่าน" คือพระยานครพระราม (สวัสดิ์ มหากายี) อดีตสมุหเทศาภิบาล ผู้สำเร็จราชการมณฑลพิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ. 2467 ขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสวรรคโลกและจังหวัดอุตรดิตถ์ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลร่วมมือกับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ทำโครงการปราบโรคพยาธิปากขอ และรณรงค์ให้ราษฎรให้ใช้ส้วม
ส้วมหลุมและส้วมถังเทจะมีกลิ่นเหม็นและป้องกันแมลงวันได้ไม่ดี พระยานครพระรามได้คิดค้นลองทำส้วมชนิดใหม่ไว้หลายแบบ ในที่สุดได้ทดลองทำหัวส้วมที่ช่องปล่อยทิ้งของเสียด้านใต้โถมีลักษณะเป็นท่อกลมที่โค้งกลับขึ้นด้านบนจึงสามารถขังน้ำไว้ในคอท่อนั้นได้ ส้วมชนิดนี้ใช้น้ำราดให้อุจจาระตกลงไปในบ่อฝังอยู่ใต้ดิน แมลงวันจะไม่สามารถตามลงไปได้เพราะติดน้ำกั้นไม่ให้ลงไปอยู่ อุจจาระและน้ำในบ่อจะไหลซึมลงไปในดินจึงเรียกวิธีการนี้ว่า "ส้วมซึม"[18]ระบบส้วมซึมในระยะแรกมีข้อเสียตรงน้ำอุจจาระที่ซึมสู่พื้นดินเป็นตัวการแพร่เชื้อโรคได้ ต่อมามีการปรับปรุงเป็นระบบบ่อเกรอะบ่อซึมโดยบ่อที่ฝังใต้ดินมักทำจากคอนกรีต แบ่งออกเป็น 2 ห้องหรือมากกว่า ใช้สำหรับรับอุจจาระจากโถส้วม มีน้ำและแบคทีเรียเป็นตัวย่อยสลาย มีบ่อกรองที่เรียกว่า บ่อเกรอะ แล้วระบายน้ำสู่บ่อซึม ระบบนี้ดีกว่าบ่อซึมแต่ก็ยังไม่ปลอดภัยเต็มที่ หัวส้วมแบบคอห่านและระบบบ่อเกรอะบ่อซึมซึ่งคนทั่วไปเรียกกันว่า "ส้วมซึม" ได้เข้ามาแทนที่การใช้ส้วมหลุม ส้วมถังเท ช่วยให้การขับถ่ายในส้วมมีความสะดวกสบายมากขึ้นด้วยราคาค่าก่อสร้างที่ไม่แพงนักและยังมีใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

ส้วมชักโครก[แก้]

ส้วมชักโครก ในปัจจุบัน
ส้วมแบบนี้มีส่วนประกอบที่ค่อนข้างสลับซับซ้อนที่เรียกว่า ชักโครก เพราะเมื่อก่อนตัวถังที่กักน้ำ อยู่เหนือที่นั่งถ่ายสูงขึ้นไป เวลาเสร็จกิจต้องชักคันโยกให้ปล่อยน้ำลงมา มีเสียงน้ำดัง จึงเรียกว่า ชักโครก[17]
ขุนนางชาวอังกฤษชื่อ เซอร์จอห์น แฮริงตัน ได้ประดิษฐ์ส้วมชักโครกรุ่นแรกขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1596 (พ.ศ. 2139) มีถังพักน้ำติดตั้งสูงเหนือโถส้วม เมื่อกดชักโครกแล้ว น้ำจะดันของเสียผ่านท่อไปยังถังเก็บ ต่อมาในปี ค.ศ. 1775 (พ.ศ. 2318) อเล็กซานเดอร์ คัมมิงส์ ได้พัฒนาส้วมชักโครก โดยการดัดท่อระบายของเสียข้างใต้ที่ลงบ่อเกรอะให้เป็นรูปตัวยู สามารถกักน้ำไว้ในท่อ และยังกันกลิ่นของเสียไม่ให้ย้อนกลับขึ้นมาได้ นับเป็นต้นแบบของชักโครกที่ใช้งานในปัจจุบัน[18]
ในประเทศไทยส้วมชักโครกแบบนั่งราบเริ่มแพร่หลายมากขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ชักโครกในสมัยนั้นจะมีถังพักน้ำติดตั้งสูงเหนือโถ เมื่อชักโครกน้ำจะไหลลงมาชำระให้อุจจาระลงไปสู่ถังเซ็ปติกแทงก์ (Septic Tank) ที่ไว้เก็บกักอุจจาระ[18] ส้วมชักโครกยุคปัจจุบันได้รับการพัฒนาทั้งด้านการออกแบบให้มีรูปทรงสวยงาม ทันสมัยและเทคโนโลยีการใช้งานเช่นเรื่องการประหยัดน้ำ ระบบชำระล้างที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เสียงเบาลงหรือมีระบบอัตโนมัติต่าง ๆ มากมาย

ปัญหาเรื่องส้วม



ปัญหาเรื่องส้วม เป็นปัญหายอดฮิตของบ้านเรา ส่วนใหญ่ปัญหาที่เกิดมักจะเป็นเรื่องการราดส้วมไม่ลง, กลิ่นเหม็น, ส้วมเต็ม บ่อยมาก ซึ่งบางบ้านแก้ไขครั้งเดียวก็เสร็จเรียบร้อย บางแห่งแก้ไขกว่า 10 ครั้ง ก็ยังไม่หาย …. ปัญหาดังกล่าวอาจจะสรุปหาเหตุหลัก ๆ ได้ดังนี้ :
1. โถส้วมอยู่ระดับต่ำกว่าบ่อเกรอะ ทำให้ระยะลาดของท่อส้วมไปถึงบ่อเกรอะน้อยมาก โอกาสที่น้ำ จะไหลย้อนกลับมามีมาก
2. ท่อส้วมแตกและอาจไปฝัง (หรือเกือบฝังอยู่ในดิน) ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและราดส้วมไม่ลง หรือบางครั้ง ราดลง บางครั้งราดไม่ลง
3. ลืมใส่ท่ออากาศให้ส้วมหายใจ เวลาราดน้ำจะราดไม่ลง เพราะน้ำที่ราด ไม่สามารถ เข้าไปแทนที่ อากาศได้
4. หากเป็นระบบบ่อซึม ที่วางไว้ในดินที่มีความชุ่มชื้นมาก แทนที่น้ำจากบ่อเกรอะ บ่อซึมจะซึมไหลออก กลับกลายเป็น น้ำซึมเข้า ปัญหาที่ตามมาคือส้วมเต็มบ่อย และราดน้ำไม่ลง
5. ขนาดบ่อเกรอะและบ่อซึมเล็กเกินไป (ในการก่อสร้างผู้ออกแบบจะกำหนดขนาดของบ่อเกรอะบ่อซึมไว้ ให้มีขนาด เหมาะสม กับจำนวนคนที่ใช้ส้วม หากใช้อาคารผิดประเภท หรือผู้รับเหมา ทำผิดขนาด ขนาดของบ่อเกรอะ บ่อซึมโต ไม่พอ ก็จะทำให้เต็มง่ายและเต็มเร็ว เพราะช่องว่างน้อย น้ำซึมออกไม่ทัน)
6. มีสิ่งของที่ไม่น่าจะใส่ลงไปในโถส้วมเข้าไปอยู่ เช่นผ้าอนามัย ถุงยางอนามัย เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะไม่ยอมสลาย และอุดตัน
7. ผู้ที่ใช้บ่อเกรอะที่ใช้เครื่องกลช่วยการย่อยสลาย ซึ่งโฆษณาว่าเป็นถังส้วมไม่มีวันเต็ม แต่เดี๋ยวก็เต็ม เดี๋ยวก็เต็ม น่าจะลองตรวจเช็คดูด้วยว่า คุณเสียบปลั๊กไฟฟ้าให้เครื่องจักร มันทำงานหรือเปล่า !!!! เหตุทั้งหมด ดังกล่าวข้างต้น คุณอาจจะลองตรวจเช็คด้วยตนเองได้ แต่หากส้วมของคุณ ยังมีปัญหาอยู่ ก็ต้องเดินไปหาผู้รู้จริง ๆ แล้วเท่านั้นแหละครับ