วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2557

ประเภทของชักโครก

ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นกับสุขภัณฑ์ต่างๆ ภายในบ้าน บ่อยครั้งเป็นแค่เรื่องของความต้องการที่จะปรับเปลี่ยนเพียงเล็กน้อย แต่กลับกลายเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และเป็นปัญหาใหญ่สำหรับคุณ วีคนี้ เราจึงอยากชวนคุณเจ้าของบ้านทั้งหลาย ให้ทำความรู้จักกับรายละเอียดของสุขภัณฑ์แบบเจาะลึก ซึ่งรับรองว่า คุณจะสามารถขจัดปัญหาน่ารำคาญใจต่างๆ เหล่านั้น ได้ด้วยตัวเองอย่างไม่น่าเชื่อเลยครับ


เรื่องทั่วไปของสุขภัณฑ์
ถ้าเราแบ่งโถสุขภัณฑ์ตามประเภทการนั่ง จะประกอบด้วยโถส้วมชนิดนั่งยอง และโถส้วมชนิดนั่งราบ ดั้งนี้ครับ
โถส้วมชนิดนั่งยอง
  • A โถส้วมชนิดนั่งยองราดน้ำ
  • B โถส้วมชนิดนั่งยองแบบใช้ถังพักน้ำ
  • C โถส้วมชนิดนั่งยองแบบใช้ฟลัชวาล์ว

โถส้วมชนิดนั่งราบ
  • D โถส้วมชนิดนั่งราบราดน้ำ
  • E โถส้วมชนิดนั่งราบแบบใช้ถังพักน้ำ
  • F โถส้วมชนิดนั่งราบแบบใช้ฟลัชวาล์ว


ปัจจุบันตามบ้านพักอาศัย และอาคารทั่วไป นิยมใช้สุขภัณฑ์ชนิดนั่งราบแบบใช้ถังพักน้ำ ซึ่งถังพักน้ำจะมีอยู่ 2 ชนิด คือ
  1. ถังพักน้ำแบบเป็นชิ้นดียวกับตัวโถสุขภัณฑ์ หรือที่เรียกว่า One Piece (A)
  2. ถังพักน้ำแบบแยกกับโถส้วม หรือ Two Piece ซึ่งทั้ง 2 ระบบจะมีการทำงานของอุปกรณ์ภายในหม้อน้ำ หรือ Tank Trim ที่คล้ายกันครับ (B)


รูปภายนอกของโถสุขภัณฑ์
A ฝารองนั่ง: ในปัจจุบัน ฝารองนั่งสุขภัณฑ์นั้น ผลิตออกมามากมาย หลากหลายประเภท แต่คุณสมบัติของฝารองนั่งที่ดี ควรจะมีความทนทาน สามารถรองรับน้ำหนักได้ดี และควรผลิตจากวัสดุที่มีความแข็งแรง คงทน เพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนานครับ
B โถสุขภัณฑ์: โถสุขภัณฑ์ที่ดี ควรจะมีขนาดคอห่านที่ใหญ่ มีแอ่งกันกลิ่นที่ลึก และมีขนาดของพื้นผิวน้ำกว้าง เพื่อช่วยให้มีคุณสมบัติในการชำระล้างดี  และช่วยป้องกันกลิ่นย้อนกลับ หรือ ป้องกันคราบสิ่งปฏิกูลติดบริเวณผิวสุขภัณฑ์ครับ


รูปภายในของโถสุขภัณฑ์
  • A พื้นผิวน้ำขัง (Water Surface) ควรมีขนาดกว้าง เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งปฏิกูลติดผิวภายในโถสุขภัณฑ์ครับ
  • B แอ่งกันกลิ่น (Water Seal) ควรให้มีขนาดลึก เพื่อป้องกันกลิ่นย้อนกลับ
  • C คอห่าน (Trap Way) ถ้ามีคอห่านขนาดใหญ่ จะช่วยป้องกันการอุดตันได้ดีขึ้นครับ


อุปกรณ์สำคัญในระบบถังพักน้ำ
  • A ชุดมือกด: ควบคุมการ ปิด-เปิด ลูกยาง ปิด-เปิดกับท่อน้ำ
  • B ชุดน้ำเข้า: ทำหน้าที่จ่ายน้ำลงถังพักน้ำ และสายน้ำเลี้ยงโถสุขภัณฑ์
  • C ท่อน้ำออก: ทำหน้าที่จ่ายน้ำจากถังพักน้ำลงสู่โถสุขภัณฑ์
  • D สายโถน้ำเลี้ยง: ทำหน้าที่จ่ายน้ำ เพื่อปรับปริมาณน้ำหล่อเลี้ยง หรือ Water Surface และช่วยป้องกันกลิ่นย้อนกลับ
  • E ลูกลอย: ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำในถังพักน้ำ เมื่อลูกลอยต่ำลง น้ำจะไหลออกจากชุดน้ำเข้า และเมื่อลูกลอยสูงขึ้นน้ำก็จะหยุด
  • F ท่อน้ำล้น: ช่วยป้องกันน้ำล้นจากถังพักน้ำ ในกรณีที่ชุดน้ำเข้าเกิดชำรุด น้ำจะไหลลงท่อน้ำล้น และไหลลงโถสุขภัณฑ์
  • G ลูกยางปิด -เปิดน้ำ: ทำหน้าที่ปิด-เปิดน้ำ จากถังพักน้ำลงสู่โถสุขภัณฑ์

ระบบการชำระล้างในแบบต่างๆ (FLUSHING)
สุขภัณฑ์แต่ละประเภทมีระบบการชำระล้างที่แยกย่อยออกไป แต่โดยทั่วไปจะมีอยู่ 4 ระบบ คือ
  1. ระบบ Wash-Down ใช้หลักการน้ำใหม่แทนน้ำเก่า ในปริมาณที่น้อยกว่าระบบอื่น
  2. ระบบ Siphonic  Wash-Down มีระบบการทำงานที่คล้ายกับระบบ Wash-Down แต่มีรูปร่างของคอห่านที่โค้งกลับ ทำให้เกิดกาลักน้ำ ช่วยดึงดูดสิ่งปฏิกูลได้อีกทางหนึ่ง
  3. ระบบ Siphon-Jet เป็นระบบที่มีหัวฉีด (Jet Hole) ช่วยเพิ่มแรงดึงดูดของน้ำให้เร็วยิ่งขึ้น จึงชำระสิ่งปฏิกูลได้รวดเร็วขึ้น
  4. ส่วนระบบ Siphon Vortex เมื่อกดชำระ ภายในโถจะเกิดการหมุนวนของน้ำ และดูดสิ่งปฏิกูลได้รวดเร็ว โดยจะชำระล้างด้วยเสียงที่เงียบกว่าระบบอื่นๆ ครับ

ก่อนจบ entry นี้ ขอฝากทิ้งท้ายไว้สักนิด สำหรับเจ้าของบ้านที่กำลังวางแผนจะซื้อ หรือ ปรับเปลี่ยนสุขภัณฑ์ใหม่ภายในบ้าน เพราะนอกจากเรื่องของดีไซน์ที่สวยงามถูกใจแล้ว ควรจะศึกษาข้อมูลก่อนว่า สุขภัณฑ์แต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อนั้น มีระยะการวางท่อน้ำทิ้งแตกต่างกันอย่างไร? มีระบบชำระล้างแบบใด? และควรเลือกซื้อสุขภัณฑ์ก่อนที่จะเทพื้นคอนกรีต เพื่อช่วยให้ช่างผู้ก่อสร้างวางระบบท่อน้ำต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้ไม่เกิดปัญหาตามมาในภายหลังครับ

ฝักบัวล้างก้น


ฝักบัวล้างก้น หรือภาษาปากว่า ที่ฉีดตูด (อังกฤษbidet shower, bidet spray, bidet sprayer or health faucet) เป็นหัวฉีดแบบลั่นไกด้วยมือ รูปลักษณะคล้ายกับหัวฉีดของอ่างล้าง ใช้พ่นละอองน้ำชำระล้างทวารหนักหรือทวารเบาของบุคคลหลังจากถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะแล้ว มักติดประจำอยู่กับฝาหรือกำแพงห้องทางขวามือของชักโครก โดยมีสายยางเชื่อมต่อท่อประปาและก๊อกน้ำซึ่งจะปล่อยน้ำมากักไว้ในถังพนักชักโครก จัดเป็นแหล่งจ่ายน้ำที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้นิยมใช้น้ำชำระล้างทวารหนักมากกว่าจะใช้วิธีอื่น
ฝักบัวล้างก้นได้เข้ามาแทนแหล่งจ่ายน้ำแบบดั้งเดิม เช่น อ่างล้างก้น หม้อทองแดง ปี๊บกับเหยือก เพราะมีสุขอนามัยมากกว่าและใช้พื้นที่ติดตั้งน้อยกว่า ฝักบัวดังกล่าวนิยมใช้กันในประเทศฟินแลนด์ ประเทศซึ่งใช้ภาษาโรแมนซ์ ประเทศอาหรับ และประเทศอื่น ๆ ซึ่งมีพื้นเพเป็นมุสลิม ส่วนในประเทศอินเดียนั้นมักติดตั้งไว้กับส้วมแบบตะวันตก ขณะที่ในประเทศไทยติดตั้งไว้สำหรับส้วมทั้งแบบตะวันตกและแบบนั่งยอง ๆ มุ่งหมายให้ใช้สอยทำนองเดียวกับที่ปรากฏในส้วมวอชเลตของญี่ปุ่น

ประเภทของส้วม(ญี่ปุ่น)


ส้วมแบบญี่ปุ่น[แก้]

ส้วมแบบญี่ปุ่นที่ใช้ในปัจจุบัน มีรองเท้าแตะที่ใช้ในห้องน้ำ ป้ายด้านซ้ายของท่อแนวตั้งเขียนว่า “กรุณานั่งยองใกล้เข้ามาอีกหน่อย”
ส้วมแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม (和式, วะชิกิ) คือส้วมแบบนั่งยอง ซึ่งรู้จักในอีกชื่อคือ ส้วมเอเชีย[10] เพราะส้วมแบบนั่งยองเป็นแบบที่พบเห็นได้ทั่วทวีปเอเชีย ส้วมแบบนั่งยองแตกต่างจากส้วมแบบตะวันตกทั้งวิธีสร้างและวิธีใช้ ส้วมนั่งยองมีลักษณะคล้ายโถฉี่ขนาดเล็กซึ่งถูกหมุน 90 องศาและติดตั้งบนพื้น ส้วมแบบญี่ปุ่นส่วนใหญ่ทำจากเครื่องเคลือบดินเผา และในบางแห่ง (เช่นบนรถไฟ) ทำด้วยสเตนเลส ผู้ใช้ต้องนั่งยองบนส้วมโดยหันหน้าเข้าหาด้านที่มีฝาโค้งครึ่งทรงกลม (หรือหันหน้าเข้าหากำแพงด้านหลังส้วมในภาพด้านขวามือ)[10] แอ่งตื้น ๆ ของส้วมจะทำหน้าที่เป็นที่เก็บสิ่งปฏิกูลแทนโถที่มีน้ำของส้วมแบบตะวันตก แต่ส่วนอื่น ๆ เช่นถังกักน้ำ ท่อ และกลไกการปล่อยน้ำเหมือนกันกับส้วมตะวันตก การกดชักโครกจะทำให้น้ำที่ถูกปล่อยออกมากวาดเอาสิ่งปฏิกูลในแอ่งไหลลงไปในหลุมอีกด้านหนึ่ง และทำให้สิ่งปฏิกูลถูกทิ้งไปในระบบน้ำเสีย การกดชักโครกมักใช้วิธีชักคันโยกเช่นเดียวกับส้วมตะวันตก แต่บางครั้งใช้วิธีดึงมือจับหรือเหยียบปุ่มบนพื้นแทน ส้วมญี่ปุ่นจำนวนมากมีการปล่อยน้ำสองแบบคือ “เล็ก” (小) กับ “ใหญ่” (大) ซึ่งแตกต่างกันที่ปริมาณน้ำที่ถูกปล่อยออก แบบแรกสำหรับการถ่ายเบา (ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “การถ่ายเล็ก”) และแบบหลังสำหรับการถ่ายหนัก (“การถ่ายใหญ่”) บางครั้งผู้ใช้จะเปิดน้ำแบบ “เล็ก” ให้เกิดเสียงขณะปัสสาวะเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว ส้วมแบบนั่งยองนี้มีทั้งแบบที่ติดตั้งในระดับเดียวกับพื้น และอีกแบบติดตั้งบนพื้นที่ยกสูงขึ้นประมาณ 30 ซม.[11] เพื่อให้ง่ายสำหรับผู้ชายเวลายืนปัสสาวะ แต่ทั้งสองแบบก็ใช้สำหรับยืนปัสสาวะได้เหมือนกัน ในห้องน้ำสาธารณะมักมีป้ายบอกให้ “กรุณาก้าวเข้ามาอีกก้าว” เพราะบางครั้งถ้าผู้ใช้นั่งยองห่างจากฝาโค้งมากเกินไปจะทำให้สิ่งปฏิกูลตกนอกส้วม

ส้วมแบบตะวันตก[แก้]

ท่อด้านบนของแทงก์ของส้วมแบบตะวันตกสามารถช่วยประหยัดน้ำ เพราะผู้ใช้สามารถล้างมือด้วยน้ำที่ไหลไปเติมแทงก์
ในญี่ปุ่น ส้วมชักโครกแบบที่ใช้กันทั่วโลกถูกเรียกว่าส้วมแบบตะวันตก (洋式, โยชิกิ) ปัจจุบันส้วมแบบตะวันตกเป็นที่นิยมใช้ในบ้านชาวญี่ปุ่นมากกว่าส้วมแบบญี่ปุ่น[2][12] แม้ว่าในห้องน้ำสาธารณะ เช่นในโรงเรียน วัด หรือสถานีรถไฟ จะติดตั้งแต่ส้วมแบบญี่ปุ่น แต่ชาวญี่ปุ่นชอบที่จะนั่งในบ้าน[2] โดยเฉพาะผู้สูงอายุและคนพิการซึ่งไม่สามารถนั่งยองนาน ๆ ได้
ส้วมแบบตะวันตกในญี่ปุ่นมักจะมีระบบประหยัดน้ำ เช่นสามารถเลือกปล่อยน้ำแบบ "ใหญ่" กับ "เล็ก" และส่วนใหญ่มักจะเติมน้ำโดยต่อท่อเหนือแทงก์เก็บน้ำ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถล้างมือได้

บิเดต์แบบญี่ปุ่น[แก้]

แผงควบคุมส้วมแบบไร้สายซึ่งมีปุ่มถึง 38 ปุ่มและจอภาพผลึกเหลว
ส้วมแบบสมัยใหม่ในญี่ปุ่น ซึ่งมักถูกเรียกในภาษาญี่ปุ่นว่าวอชเลต (ウォシュレット) หรือ อนซุอิเซ็นโจเบ็นซะ (温水洗浄便座 แปลว่าที่นั่งแบบมีน้ำอุ่นล้าง) เป็นหนึ่งในส้วมที่ก้าวหน้าที่สุดในโลกและมีความสามารถที่น่าทึ่งต่าง ๆ มากมาย[5] Washlet Zoe หนึ่งในผลิตภัณฑ์ของโตโต้ถูกบันทึกไว้ในกินเนสส์บุ๊ค ว่าเป็นส้วมที่ซับซ้อนที่สุดในโลกด้วยความสามารถถึง 7 อย่าง แต่เนื่องจากเป็นรุ่นที่เปิดตัวใน พ.ศ. 2540 ความสามารถจึงอาจจะด้อยกว่ารุ่นล่าสุดอย่าง Neorest[13]
แนวความคิดของส้วมแบบที่มีบิเดต์นั้นมาจากต่างประเทศ และส้วมแบบมีบิเดต์สร้างขึ้นครั้งแรกนอกประเทศญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2507 ส่วนยุคสมัยของส้วมไฮเทคที่มีความสามารถต่าง ๆ ในญี่ปุ่นเริ่มขึ้นในทศวรรษที่ 2520[6] โดยการที่โตโต้เปิดตัว วอชเลต รุ่นจีซีรีส์ และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาชื่อวอชเลตก็ถูกใช้เรียกแทนส้วมไฮเทคในญี่ปุ่น ใน พ.ศ. 2545 ร้อยละ 51.7 ของบ้านในประเทศญี่ปุ่นมีส้วมแบบดังกล่าว[14] และมากกว่าจำนวนบ้านที่มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล[5][4] ส้วมไฮเทคนี้มีลักษณะคล้ายส้วมชักโครกแบบตะวันตกธรรมดา แต่จะมีความสามารถอื่น ๆ มากมาย เช่น พัดลมเป่า การอุ่นที่นั่ง การนวดด้วยกระแสน้ำ การปรับสายน้ำ ฝาที่นั่งซึ่งเปิดโดยอัตโนมัติ การชักโครกอัตโนมัติ และปุ่มควบคุมแบบไร้สาย[2][15] การควบคุมความสามารถพิเศษเหล่านี้สามารถทำได้โดยใช้แผงควบคุมด้านข้างของที่นั่ง หรือที่ถูกติดตั้งบนผนังใกล้ ๆ[2]
ความสามารถพื้นฐาน[แก้]
ความสามารถพื้นฐานที่พบเห็นบ่อยที่สุดคือบิเดต์ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่งขนาดเท่าดินสอที่สามารถยื่นออกมาจากใต้ฝารองนั่งและฉีดน้ำได้ ท่อนี้จะไม่สัมผัสถูกร่างกายของผู้ใช้ และสามารถทำความสะอาดตัวเองหลังการใช้งาน ผู้ใช้สามารถเลือกให้ล้างทวารหนักหรือล้างอวัยวะเพศหญิงก็ได้[1][4] โดยกดปุ่มคำสั่งนั้น ๆ บนแผงควบคุม ปกติการล้างทั้งสองแบบจะใช้ท่อเดียวกันแต่ตำแหน่งท่อต่างกัน และใช้การฉีดน้ำคนละมุมเพื่อให้ถูกตำแหน่งที่จะล้าง ในบางครั้งจะมีการใช้ท่อสองท่อสำหรับแต่ละตำแหน่ง การควบคุมท่อฉีดน้ำนี้ถูกกำหนดให้ขึ้นอยู่กับปุ่มรับแรงบนที่นั่งด้วย โดยจะทำงานเฉพาะเวลาที่มีแรงกดลงบนที่นั่ง ซึ่งหมายความว่ามีผู้ใช้นั่งอยู่บนส้วม เพราะในรุ่นแรก ๆ ไม่มีระบบป้องกันนี้ ทำให้ผู้ใช้ที่สงสัยจำนวนมากกดปุ่มเพื่อดูการทำงาน และถูกน้ำอุ่นฉีดใส่หน้า[16]
การปรับค่า[แก้]
ส้วมไฮเทคส่วนมากมักสามารถให้ผู้ใช้ปรับความแรงและอุณหภูมิของน้ำได้ตามความพึงพอใจ ค่าเริ่มต้นจะตั้งไว้ให้น้ำที่ฉีดอวัยวะเพศหญิงเบากว่าน้ำที่ฉีดทวารหนัก นักวิจัยในญี่ปุ่นพบว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่ชอบน้ำที่อุ่นกว่าอุณหภูมิร่างกาย และค่าที่เหมาะสมที่สุดคือ 38 องศาเซลเซียส[17] ตำแหน่งของหัวฉีดน้ำก็สามารถปรับหน้า-หลังด้วยมือ วอชเลตระดับสูงสามารถปรับการสั่นของกระแสน้ำ ซึ่งผู้ผลิตอ้างว่าจะมีผลดีต่ออาการท้องผูกและริดสีดวงทวาร[18] วอชเลตล่าสุดสามารถผสมน้ำที่ฉีดกับสบู่เพื่อปรับปรุงขั้นตอนการชำระล้างให้ดียิ่งขึ้น ลมร้อนที่ใช้สำหรับเป่าหลังฉีดน้ำโดยมากสามารถปรับอุณภูมิระหว่าง 40-60 องศาเซลเซียส[16]

วิธีทำส้วมฉุกเฉิน


ในสภาวะน้ำท่วมทั่วไทยเช่นนี้ เราควรพึงพาตนเองให้มากที่สุดและ
สิ่งหนึ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในช่วงน้ำท่วมนั่นคือ สุขาหรือส้วม
นั่นเอง เพราะการขับถ่ายโดยไม่เลือกที่อาจทะให้เกิดโรคระบาดได้
 มีวิธีทำส้วมฉุกเฉินใช้เองในครอบครัวอย่างง่ายๆ 2 แบบ ดังนี้
  1. แบบส้วมเก้าอี้ โดยใช้เก้าอี้พลาสติกมาขามาเจาะรูตรงกลางที่นั่ง
    จากนั้นใช้ถุงพลาสติกหรือถุงดำที่ซื้อหรือได้รับแจกสวมเข้ากับ
    เก้าอี้ อาจใช้กล่องข้างใต้เก้าอี้อีกที เพื่อความปลอดภัย
    บทความสุขภาพ
  2.  แบบส้วมกล่อง โดยใช้กล่องกระดาษใส่ของลังเบียร์กระดาษ
    ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่  เจาะรูด้านบน  จากนั้นใช้ถุง
    พลาสติกหรือถุงดำซื้อหรือได้รับแจกสวมรองรับของเสีย
    จากร่างกาย  ทำเป็นส้วมชั่วคราวได้ตามต้องการ
    สำหรับท่านที่น้ำท่วมยังไม่ถึงบ้าน ก็ควรหาอุปกรณ์ต่างๆเหล่านี้
    ไว้ที่บ้านเผื่อใช้ในยามฉุกเฉิน เช่น กล่อง เก้าอี้พลาสติด ถุงดำ

     
    สำหรับวิธีกำจัดสิ่งปฎิกูลในถุงดำ ควรใส่ยาฆ่าเชือไลโซน หรือ
    จุลินทรีย์EM(ถ้ามี) ก่อนมัดปากถุง และนำไปทิ้งขยะของเทศบาล
    อย่าทิ้งลงน้ำ เพราะะทำให้น้ำสกปรกและเกิดโรคระบาดได้