วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2557

ประเภทของส้วม(ญี่ปุ่น)


ส้วมแบบญี่ปุ่น[แก้]

ส้วมแบบญี่ปุ่นที่ใช้ในปัจจุบัน มีรองเท้าแตะที่ใช้ในห้องน้ำ ป้ายด้านซ้ายของท่อแนวตั้งเขียนว่า “กรุณานั่งยองใกล้เข้ามาอีกหน่อย”
ส้วมแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม (和式, วะชิกิ) คือส้วมแบบนั่งยอง ซึ่งรู้จักในอีกชื่อคือ ส้วมเอเชีย[10] เพราะส้วมแบบนั่งยองเป็นแบบที่พบเห็นได้ทั่วทวีปเอเชีย ส้วมแบบนั่งยองแตกต่างจากส้วมแบบตะวันตกทั้งวิธีสร้างและวิธีใช้ ส้วมนั่งยองมีลักษณะคล้ายโถฉี่ขนาดเล็กซึ่งถูกหมุน 90 องศาและติดตั้งบนพื้น ส้วมแบบญี่ปุ่นส่วนใหญ่ทำจากเครื่องเคลือบดินเผา และในบางแห่ง (เช่นบนรถไฟ) ทำด้วยสเตนเลส ผู้ใช้ต้องนั่งยองบนส้วมโดยหันหน้าเข้าหาด้านที่มีฝาโค้งครึ่งทรงกลม (หรือหันหน้าเข้าหากำแพงด้านหลังส้วมในภาพด้านขวามือ)[10] แอ่งตื้น ๆ ของส้วมจะทำหน้าที่เป็นที่เก็บสิ่งปฏิกูลแทนโถที่มีน้ำของส้วมแบบตะวันตก แต่ส่วนอื่น ๆ เช่นถังกักน้ำ ท่อ และกลไกการปล่อยน้ำเหมือนกันกับส้วมตะวันตก การกดชักโครกจะทำให้น้ำที่ถูกปล่อยออกมากวาดเอาสิ่งปฏิกูลในแอ่งไหลลงไปในหลุมอีกด้านหนึ่ง และทำให้สิ่งปฏิกูลถูกทิ้งไปในระบบน้ำเสีย การกดชักโครกมักใช้วิธีชักคันโยกเช่นเดียวกับส้วมตะวันตก แต่บางครั้งใช้วิธีดึงมือจับหรือเหยียบปุ่มบนพื้นแทน ส้วมญี่ปุ่นจำนวนมากมีการปล่อยน้ำสองแบบคือ “เล็ก” (小) กับ “ใหญ่” (大) ซึ่งแตกต่างกันที่ปริมาณน้ำที่ถูกปล่อยออก แบบแรกสำหรับการถ่ายเบา (ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “การถ่ายเล็ก”) และแบบหลังสำหรับการถ่ายหนัก (“การถ่ายใหญ่”) บางครั้งผู้ใช้จะเปิดน้ำแบบ “เล็ก” ให้เกิดเสียงขณะปัสสาวะเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว ส้วมแบบนั่งยองนี้มีทั้งแบบที่ติดตั้งในระดับเดียวกับพื้น และอีกแบบติดตั้งบนพื้นที่ยกสูงขึ้นประมาณ 30 ซม.[11] เพื่อให้ง่ายสำหรับผู้ชายเวลายืนปัสสาวะ แต่ทั้งสองแบบก็ใช้สำหรับยืนปัสสาวะได้เหมือนกัน ในห้องน้ำสาธารณะมักมีป้ายบอกให้ “กรุณาก้าวเข้ามาอีกก้าว” เพราะบางครั้งถ้าผู้ใช้นั่งยองห่างจากฝาโค้งมากเกินไปจะทำให้สิ่งปฏิกูลตกนอกส้วม

ส้วมแบบตะวันตก[แก้]

ท่อด้านบนของแทงก์ของส้วมแบบตะวันตกสามารถช่วยประหยัดน้ำ เพราะผู้ใช้สามารถล้างมือด้วยน้ำที่ไหลไปเติมแทงก์
ในญี่ปุ่น ส้วมชักโครกแบบที่ใช้กันทั่วโลกถูกเรียกว่าส้วมแบบตะวันตก (洋式, โยชิกิ) ปัจจุบันส้วมแบบตะวันตกเป็นที่นิยมใช้ในบ้านชาวญี่ปุ่นมากกว่าส้วมแบบญี่ปุ่น[2][12] แม้ว่าในห้องน้ำสาธารณะ เช่นในโรงเรียน วัด หรือสถานีรถไฟ จะติดตั้งแต่ส้วมแบบญี่ปุ่น แต่ชาวญี่ปุ่นชอบที่จะนั่งในบ้าน[2] โดยเฉพาะผู้สูงอายุและคนพิการซึ่งไม่สามารถนั่งยองนาน ๆ ได้
ส้วมแบบตะวันตกในญี่ปุ่นมักจะมีระบบประหยัดน้ำ เช่นสามารถเลือกปล่อยน้ำแบบ "ใหญ่" กับ "เล็ก" และส่วนใหญ่มักจะเติมน้ำโดยต่อท่อเหนือแทงก์เก็บน้ำ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถล้างมือได้

บิเดต์แบบญี่ปุ่น[แก้]

แผงควบคุมส้วมแบบไร้สายซึ่งมีปุ่มถึง 38 ปุ่มและจอภาพผลึกเหลว
ส้วมแบบสมัยใหม่ในญี่ปุ่น ซึ่งมักถูกเรียกในภาษาญี่ปุ่นว่าวอชเลต (ウォシュレット) หรือ อนซุอิเซ็นโจเบ็นซะ (温水洗浄便座 แปลว่าที่นั่งแบบมีน้ำอุ่นล้าง) เป็นหนึ่งในส้วมที่ก้าวหน้าที่สุดในโลกและมีความสามารถที่น่าทึ่งต่าง ๆ มากมาย[5] Washlet Zoe หนึ่งในผลิตภัณฑ์ของโตโต้ถูกบันทึกไว้ในกินเนสส์บุ๊ค ว่าเป็นส้วมที่ซับซ้อนที่สุดในโลกด้วยความสามารถถึง 7 อย่าง แต่เนื่องจากเป็นรุ่นที่เปิดตัวใน พ.ศ. 2540 ความสามารถจึงอาจจะด้อยกว่ารุ่นล่าสุดอย่าง Neorest[13]
แนวความคิดของส้วมแบบที่มีบิเดต์นั้นมาจากต่างประเทศ และส้วมแบบมีบิเดต์สร้างขึ้นครั้งแรกนอกประเทศญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2507 ส่วนยุคสมัยของส้วมไฮเทคที่มีความสามารถต่าง ๆ ในญี่ปุ่นเริ่มขึ้นในทศวรรษที่ 2520[6] โดยการที่โตโต้เปิดตัว วอชเลต รุ่นจีซีรีส์ และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาชื่อวอชเลตก็ถูกใช้เรียกแทนส้วมไฮเทคในญี่ปุ่น ใน พ.ศ. 2545 ร้อยละ 51.7 ของบ้านในประเทศญี่ปุ่นมีส้วมแบบดังกล่าว[14] และมากกว่าจำนวนบ้านที่มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล[5][4] ส้วมไฮเทคนี้มีลักษณะคล้ายส้วมชักโครกแบบตะวันตกธรรมดา แต่จะมีความสามารถอื่น ๆ มากมาย เช่น พัดลมเป่า การอุ่นที่นั่ง การนวดด้วยกระแสน้ำ การปรับสายน้ำ ฝาที่นั่งซึ่งเปิดโดยอัตโนมัติ การชักโครกอัตโนมัติ และปุ่มควบคุมแบบไร้สาย[2][15] การควบคุมความสามารถพิเศษเหล่านี้สามารถทำได้โดยใช้แผงควบคุมด้านข้างของที่นั่ง หรือที่ถูกติดตั้งบนผนังใกล้ ๆ[2]
ความสามารถพื้นฐาน[แก้]
ความสามารถพื้นฐานที่พบเห็นบ่อยที่สุดคือบิเดต์ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่งขนาดเท่าดินสอที่สามารถยื่นออกมาจากใต้ฝารองนั่งและฉีดน้ำได้ ท่อนี้จะไม่สัมผัสถูกร่างกายของผู้ใช้ และสามารถทำความสะอาดตัวเองหลังการใช้งาน ผู้ใช้สามารถเลือกให้ล้างทวารหนักหรือล้างอวัยวะเพศหญิงก็ได้[1][4] โดยกดปุ่มคำสั่งนั้น ๆ บนแผงควบคุม ปกติการล้างทั้งสองแบบจะใช้ท่อเดียวกันแต่ตำแหน่งท่อต่างกัน และใช้การฉีดน้ำคนละมุมเพื่อให้ถูกตำแหน่งที่จะล้าง ในบางครั้งจะมีการใช้ท่อสองท่อสำหรับแต่ละตำแหน่ง การควบคุมท่อฉีดน้ำนี้ถูกกำหนดให้ขึ้นอยู่กับปุ่มรับแรงบนที่นั่งด้วย โดยจะทำงานเฉพาะเวลาที่มีแรงกดลงบนที่นั่ง ซึ่งหมายความว่ามีผู้ใช้นั่งอยู่บนส้วม เพราะในรุ่นแรก ๆ ไม่มีระบบป้องกันนี้ ทำให้ผู้ใช้ที่สงสัยจำนวนมากกดปุ่มเพื่อดูการทำงาน และถูกน้ำอุ่นฉีดใส่หน้า[16]
การปรับค่า[แก้]
ส้วมไฮเทคส่วนมากมักสามารถให้ผู้ใช้ปรับความแรงและอุณหภูมิของน้ำได้ตามความพึงพอใจ ค่าเริ่มต้นจะตั้งไว้ให้น้ำที่ฉีดอวัยวะเพศหญิงเบากว่าน้ำที่ฉีดทวารหนัก นักวิจัยในญี่ปุ่นพบว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่ชอบน้ำที่อุ่นกว่าอุณหภูมิร่างกาย และค่าที่เหมาะสมที่สุดคือ 38 องศาเซลเซียส[17] ตำแหน่งของหัวฉีดน้ำก็สามารถปรับหน้า-หลังด้วยมือ วอชเลตระดับสูงสามารถปรับการสั่นของกระแสน้ำ ซึ่งผู้ผลิตอ้างว่าจะมีผลดีต่ออาการท้องผูกและริดสีดวงทวาร[18] วอชเลตล่าสุดสามารถผสมน้ำที่ฉีดกับสบู่เพื่อปรับปรุงขั้นตอนการชำระล้างให้ดียิ่งขึ้น ลมร้อนที่ใช้สำหรับเป่าหลังฉีดน้ำโดยมากสามารถปรับอุณภูมิระหว่าง 40-60 องศาเซลเซียส[16]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น